เมนู

เสนาสนวรรค เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ 8


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 8 ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถเวทาสกุฎีและกิริยานั่งทับ]


บทว่า อุปริ เวหาสกุฏิยา ได้แก่ บนกุฎี 2 ชั้นก็ดี บนกุฎี 3
ชั้นก็ดี ที่ข้างบนไม่ได้ปูพื้นไว้
คำว่า มญฺจํ สหสา อภินิสีทติ ได้แก่ นั่งทับ คือ นั่งคร่อมเตียง
โดยแรง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มญฺจํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง
สัตตมีวิภัตติ. ความว่า นั่งลงบนเตียง. ก็คำว่า อภิ นี้ เป็นเพียงอุปสรรค
เพื่อทำให้บทสวยงามเท่านั้น.
บทว่า ปติตฺวา คือ ตกลง หรือหลุดออกแล้ว . เพราะว่า ใน
เบื้องบนของเท้าเตียงนั้น แม้สลักก็ไม่ใส่ เพราะฉะนั้น เท้าเตียงจึงหลุดออก
บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือ ได้ทำเสียงร้องครวญครางผิดรูป
คำว่า เวหาสกุฎี นาม มชฺฌิมสฺส ปุริสสฺส อสีสฆฏฺฏา
มีความว่า กุฎีใดไม่กระทบศีรษะแห่งบุรุษผู้มีขนาดปานกลาง ด้วยขื่อที่ต่ำกว่า
เขาทั้งหมด, (กุฎีนั้น ชื่อว่า เวหาสกุฎี) ด้วยคำนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงเวหาสกุฎีที่ทรงประสงค์แล้วในสิกขาบทนี้ . (แต่) หาได้
ทรงแสดงลักษณะของเวหาสกุฎีไว้ไม่. จริงอยู่ กุฎีมี 2 ชนก็ดี กุฎีมี 3 ชั้น
เป็นต้นก็ดี ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเบื้องบนไม่ได้ปูพื้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า เวหาสกุฎี. แต่ในสิกขาบทนี้ประสงค์เอาเวหาสกุฎีที่ไม่กระทบ
ศีรษะ. บัณฑิตพึงทราบความแตกต่างกันแห่งอาบัติ ในการนั่งทับเป็นต้น
ด้วยอำนาจแห่งประโยค โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแล

บทว่า อเวหาสกุฏิยา มีความว่า ไม่เป็นอาบัติในศาลาใบไม้ที่เขา
สร้างไว้บนพื้นดินเป็นต้น . เพราะว่า ไม่อาจเพื่อจะทำความเบียดเบียนแก่คน
อื่นในกุฎีมีบรรณศาลาเป็นต้นนั้น .
บทว่า สีสฆฏฺฏาย มีความว่า กุฎีใดกระทบศีรษะได้, ไม่เป็นอาบัติ
ในกุฎีแม้นั้น. เพราะว่า ใคร ๆ ไม่ก้มตัวลงไม่อาจเพื่อจะเที่ยวไปไม่ปราสาท
ชั้นล่าง (พื้นชั้นล่าง) ในกุฎีนั่นได้ ฉะนั้น จักไม่มีความเบียดเบียนแก่ผู้อื่น
เพราะไม่ใช่สถานที่สัญจร.
สามบทว่า เหฏฺฐา อปริโภคํ โหติ มีความว่า ภายใต้เป็นที่ใช้
สอยไม่ได้ เพราะเก็บทัพสัมภาระเป็นต้น . แม้ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบัติ.
สองบทว่า ปทรสญฺจิตํ โหติ มีความว่า พื้นข้างบนกุฎีใดเขาปู
แน่นทึบด้วยแผ่นกระดานไม้ก็ดี ทำการบริกรรมด้วยปูนขาวเป็นต้น ก็ดี. แม้
ในกุฎีนั้นก็ไม่เป็นอาบติ.
ข้อว่า ปฏฺฏาณิ ทินฺนา โหติ มีความว่า ได้ตรึงสลักไว้ที่ปลาย
เท้าเตียงและตั่งเป็นต้น แม้เมื่อภิกษุนั่งบนเตียงและตั่งใด. (เท้าเตียง) ไม่ตก
ลงมา แม้ภิกษุผู้นั่งบนเตียงและตั่งเช่นนั้น ก็ไม่เป็นอาบัติ.
ข้อว่า ตสฺมึ ฐิโต มีความว่า ภิกษุยืนบนเตียงและตั่งที่มีเท้าเสียบ
(เข้าไว้ในตัวเตียงตั่ง) หยิบจีวรหรือวัตถุอะไร ๆ ที่แขวนไว้บนไม้ฟันมังกร
เป็นต้นข้างบน, หรือว่าจะแขวนวัตถุอื่น, ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. บทที่
เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย 1 ทาง
กายกับจิต 1 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม
มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
เวหาสกุฎีสิกขาบทที่ 8 จบ

ภูตคามวรรค สิกขาบทที่ 9


เรื่องพระฉันนะ


[397] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
โฆสิตาราม เขตพระนครโกสัมพี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์อุปัฏฐากของท่าน
พระฉันนะสร้างวิหารถวายท่านพระฉันนะ แต่ท่านพระฉันนะสั่งให้มุงให้โบก
ฉาบวิหารที่ทำสำเร็จแล้วบ่อยครั้ง วิหารหนักเกินไป ได้ทลายลงมา จึงท่าน
พระฉันนะมัวสาละวนเก็บรวบรวมหญ้าและไม้ ได้ทำนาข้าวเหนียวของ
พราหมณ์คนหนึ่งให้เสียหาย พราหมณ์นั้นจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงได้ทำนาข้าวเหนียวของข้าพเจ้าให้เสียหาย ภิกษุ
ทั้งหลายได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่ผู้มักน้อย. . .
ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระฉันนะจึงได้ให้มุงให้โบกฉาบ
วิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้งเล่า วิหารหนักเกินไปได้ทลายลงมา แล้วกราบทูล
เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนฉันนะ ข่าว
ว่าเธอให้มุงให้โบกฉาบวิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้ง วิหารหนักเกินไปได้ทลาย
ลงมา จริงหรือ
ท่านพระฉันนะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง
ได้ให้มุงให้โบกฉาบวิหารที่ทำเสร็จแล้วบ่อยครั้งเล่า วิหารหนักเกินไปก็ทลาย